รีวิวภาพยนต์เรื่อง Mother Gamer : เกมเมอร์ เกมแม่ – ภาพยนต์ไทยไอเดียสุดล้ำที่เอา E-Sport มาเล่า

เรื่องย่อ – เมื่อความลับของการเป็นเกมเมอร์มือโปรถูกล่วงรู้ถึงหูแม่ ปฏิบัติการฟอร์มทีม “เกมแม่” เพื่อล้มทีม “เกมเมอร์” จึงเริ่มต้นขึ้น พร้อมเปิดสมรภูมิอีสปอร์ตที่งานนี้ “แม่” กับ “ลูก” จะต้องไฝว้เพื่อชัยชนะเท่านั้นในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน “เบญจมาศ” (อ้อม พิยดา) ผู้เป็นทั้งแม่และครูพยายามควบคุมเส้นทางชีวิตของลูกชาย “โอม” (ตน ต้นหน) เพื่อหวังให้สอบชิงทุนเรียนได้สำเร็จ แต่แล้วความต้องการที่อยากผลักดันเส้นทางของลูกชายนั้นก็ไม่เป็นดังหวัง เมื่อเธอจับได้ว่าโอมเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตในทีมชื่อดังอย่าง “Higher” และยิ่งไปกว่านั้น โอมกำลังจะลงแข่งขันเกมครั้งสำคัญเพื่อเป็นตัวแทนไปชิงแชมป์ระดับโลกในวันเดียวกับสอบชิงทุนเสียด้วย

เมื่อคำสั่งห้ามของแม่ใช้ไม่ได้ผล เบญจมาศจึงต้องหาทางสกัดกั้นไม่ให้โอมก้าวไปสู่ชัยชนะ ด้วยการยื่นข้อเสนอให้ “กอบศักดิ์” (เติร์ด ลภัส) เด็กหลังห้องอดีตโปรเพลเยอร์ของ Higher มาช่วยตั้งทีมอีสปอร์ตหน้าใหม่ “Ohmgaga” เพื่อแลกกับที่เบญจมาศจะช่วยให้กอบศักดิ์เรียนจบ กอบศักดิ์เลยพาเหล่าเกมเมอร์ตัวจี๊ดมาร่วมทีม Ohmgaga ทั้ง “มะปราง” (วี BNK48) สาวเปรี้ยวสุดเท่, “ไกด์” (บอส ธนบัตร) นักวางแผนฝีมือฉกาจ, “แบงค์” (นนท์ ศุภวัจน์) สายเปย์ตัวเป้ง และ “แม็ก” (เตชินท์ ณัฐชนน) จอมโวยวายจากร้านเกม

แต่สิ่งที่เบญจมาศไม่ได้คาดคิดเอาไว้ก็คือ เธอต้องลงสนามในฐานะนักกีฬาของทีม เคียงข้างกับกอบศักดิ์ผู้พยายามพิสูจน์ตัวเอง พร้อมเผชิญหน้ากับโอมลูกชายที่อยากขีดเส้นทางชีวิตด้วยตัวเอง

บนเส้นทางแห่งการแข่งขันเกม RoV แบตเทิลครั้งนี้ “เกมเมอร์” หรือ “เกมแม่” ใครกันแน่จะเป็นผู้ชนะ…

ความรู้สึกส่วนตัว

งานภาพและเสียง – ภาพยนต์เรื่องเกมเมอร์ เกมแม่ กำกับโดยผู้กำกับ เสือ ยรรยง คุรุอังกูร ผู้กำกับที่ขึ้นชื่อเรื่องงาน Visual อยู่เเล้ว บอกเลยว่าเรื่องนี้พี่เสือจัดให้เต็มอิ่มเลย คนดูจะได้เห็นการใช้มุมกล้องแปลก ๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ แสงสีเสียงมาเต็ม จนบางทีน้องเหมียวดูเองยังคิดเลยว่าเยอะไปนิดหนึ่ง ช่วงเเรกของภาพยนต์จะพยายามใส่มุมกล้องแปลกๆมาเพื่อทำให้คนดูตื่นเต้นเเล้วค่อย ๆ ผ่อนลงไป ระหว่างเล่าเรื่องตลอดเรื่องมีการพยายามใช้ Slow Motion จนบางทีคนดูอาจจะเบื่อไปเลย

บทภาพยนต์ – หนังพยายามเล่าหลายเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งความสัมพันธ์ของเเม่ลูก การเเข่งขัน ROV การสร้างทีมเเม่ เเต่เหมือนว่าสิ่งที่เล่าทุกเรื่องเล่าได้เเค่เพียงผิวเผิน ไม่มีการลงรายละเอียดลึกเท่าไหร่นักเลยทำให้ไม่ค่อยอินไปกับหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่าไหร่นัก การเล่าเรื่องช่วงกลาง ๆ เรื่องมีช่วงน่าเบื่อบ้าง แต่ก็ไม่นานเท่าไหร่

การเเสดง – นักเเสดงทุกคนเล่นได้ดีเลยไม่เเข็งเกินไป เเต่พี่อ้อม พิยดา คือโดดเด่นมากเล่นได้เป็นธรรมชาติเเละการใช้สายตา ท่าทาง สามารถทำให้คนเชื่อในบทบาทการเเสดงได้

ถ้าไม่ได้เล่น ROV จะดูรู้เรื่องไหม ? – น้องเหมียวเองเป็นคนเล่นเกมนะ ROV ก็เล่นอยู่ แต่ก็คิดว่าภาพยนต์เรื่องนี้มีการเข้าไปเล่าส่วนในเกมส์น้อยมากน้อยซะจนตกใจเลย สามารถยกซีนเกมส์ออกได้เกือบทั้งหมดโดยไม่ส่งผลอะไรต่อเรื่องหรือทำให้ความสนุกลดลงเลยเพราะว่าซีนเกมส์ที่ใส่เข้ามาก็ไม่ได้ส่งเสริมความสนุกของหนังเท่าไหร่นัก โปรเพลเยอร์ที่ให้มาเเสดงด้วยก็ไม่มีบทบาทอะไรสำคัญเเละเเทบไม่มีบทพูดอะไรเลย

ประเด็นที่น้องเหมียวอยากเล่า – คือหนังเรื่องนี้น้องเหมียวคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจอยู่คือเรื่องการตัดสินคนอื่นด้วยบรรทัดฐานของตัวเอง …. ทุกคนที่อ่านมานี้คงจะงงๆว่าเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ใช่ไหมหละเด๋วน้องเหมียวขออธิบายเลยเเล้วกัน

  • เบญจมาศ ตัวละครคุณเเม่ที่เป็นตัวเเทนของผู้ใหญ่ที่ตัดสินว่าเกมเป็นสิ่งไม่ดีทำให้เสียการเรียน เสียอนาคต อยากให้ลูกได้เรียนจบเกรดดี ๆ ทำงานสบาย ๆ ได้เงินเยอะ ๆ โดยไม่เคยที่จะถามลูกของตัวเองเลยว่าความสุขของลูกคืออะไร
  • โอม เด็กหนุ่มที่ชอบการเล่นเกมและใฝ่ฝันที่จะเป็นเกมเมอร์ ตัวเเทนคนรุ่นใหม่ที่ตัดสินคนรุ่นเก่าเรื่องการทำงานหนักเพื่อเเลกกับเงินเดือนเพียงน้อยนิด โอมไม่เข้าใจเรื่องการทำงานหนักเพราะตนเองสามารถหาเงินเดือนได้มากมายเพียงเเค่การนั่งเล่นเกม

คนทุกคนล้วนตัดสินสิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ของตัวเองโดยที่ยังไม่เคยเข้าไปลองศึกษาสิ่งนั้น ๆ เมื่อวันหนึ่ง เบญจมาศ ได้ลองเข้าไปศึกษาโลกของเกมถึงได้พบว่าเกมมันไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเหมือนที่ตนคิด ทำให้ตนมองมันไม่เหมือนเดิมที่ผ่านมา

สุดท้ายนี้ Mother Gamer เกมเมอร์เกมเเม่ อาจไม่ใช่หนังไทยที่ดีคะเเนนเต็มสิบ แต่น้องเหมียวก็อยากให้ทุกคนได้ดู รับรองว่าต้องข้อคิดจากหนังไปอย่างเเน่นอน สำหรับคะเเนนเเล้ว น้องเหมียวให้อยู่ที่ 5/10 เหมียว ถึงคะเเนนจะไม่เยอะเท่าไหร่เเต่อยากให้ดูนะคะ ปล.น้องวีเล่นได้น่ารักมากๆเลยค่ะ

แสดงความคิดเห็น